3 ไม่ 9 ข้อพอมั้ย ... เหตุผลที่คนไทยไม่เอากาสิโน
“ไม่ชอบธรรม”
กาสิโนไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องต้องการ แต่เป็นความต้องการของผู้คุมอำนาจทางการเมืองและอำนาจทุน และกำลังพยายามจะใช้อำนาจมากลากไปเพื่อให้เปิดกาสิโนได้ตามอำเภอใจ
“ไม่ฟัง”
ผลการศึกษาทางวิชาการของทุกสถาบันล้วนตรงกันว่า เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนคนไทยไม่เห็นด้วยกับการมีกาสิโน
แต่ดูเหมือนรัฐบาลไม่เคยฟังเสียงของประชาชน
“ไม่ซื่อ”
ที่สำคัญ ในการเลือกตั้งเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา การตั้งสถานบันเทิงครบวงจรอันมีกาสิโนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ไม่ได้ถูกประกาศในนโยบายหาเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคใดเลย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย และรวมถึงพรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคชาติไทยพัฒนา อันเป็นพรรคแกนนำสำคัญ
การกระทำเยี่ยงนี้จัดได้ว่าเป็นความไม่ซื่อของพรรคร่วมรัฐบาล ที่พอมีโอกาสได้บริหารประเทศ ก็ใช้อำนาจกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพวกพ้องของตน โดยไม่สนใจรับผิดชอบต่อสิ่งที่หาเสียงไว้กับประชาชน
“ไม่อาย”
รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้จัดทำการรับฟังความเห็นประชาชนเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร ผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต โดยไม่มีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง และรีบร้อนรวบรัด เปิดรับฟังเพียง 18 วัน และไม่ได้มีข้อคำถามว่า “ประชาชนเห็นด้วยกับกฎหมายนี้หรือไม่?” แต่หลังจากนั้น บุคคลในรัฐบาลกลับให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า ประชาชนกว่า 80% เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ นับเป็นเรื่องที่ไม่ละอาย
“ ไม่เชื่อมั่น”
“ไม่โปร่งใส”
กฎหมายที่รัฐบาลกำลังเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ยกอำนาจการตัดสินทุกเรื่องเกี่ยวกับกาสิโนให้แก่ คณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร หรือเรียกว่า “ซุปเปอร์บอร์ด” อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรองนายกรัฐมนตรี 1 คนกับรัฐมนตรีบางกระทรวง 6 คนและข้าราชการประจำ 3 คน กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 6 คน โดยไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่น ทั้งภาคท้องถิ่น และภาคประชาสังคม
ที่สำคัญคือ กฎหมายนี้ได้ตัดมาตราว่าด้วย“การรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ที่สถานบันเทิงครบวงจรจะไปตั้ง และพื่นที่ใกล้เคียง” ออกไปจากร่างเดิม แสดงให้เห็นเจตนาที่ไม่ต้องการให้มีการตรวจสอบ ไม่มีความโปร่งใส และไร้ซึ่งธรรมาภิบาล
“ไม่จริงใจ”
รายงานการศึกษาเพื่อเปิดสถานบันเทิงครบวงจร ฯ ของสภาผู้แทนราษฎร เสนอว่าประเทศไทยควรยึดต้นแบบ “สิงคโปร์โมเดล” เป็นสำคัญ โดยต้องมีกลไกป้องกันปัญหาและลดผลกระทบทางสังคมจากการมีกาสิโน แต่ในร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอกลับไม่มีหน่วยงานป้องกันปัญหาและลดผลกระทบ รวมทั้งตัดหมวดว่าด้วย “กองทุนลดผลกระทบทางสังคม” ออกไป แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจต่อการจะดูแลสังคมของรัฐบาล
“ไม่ไหวแน่”
ปัญหาใหญ่ของประเทศที่มีกาสิโนถูกกฎหมายทั่วโลก คือ ความข้องเกี่ยวกับขบวนการอาชญากรรมและการถูกใช้เป็นแหล่งฟอกเงิน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการทุจริตคอรัปชั่น และความย่อหย่อนของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น หากไม่มีการปฏิรูปตำรวจ และไม่มีการปราบคอรัปชั่นอย่างจริงจัง จะไม่มีทางจัดการปัญหาอาชญากรรม และการฟอกเงินในกาสิโนได้
“ไม่ไว้ใจ”
“ไม่รู้จะรีบไปไหน?”
ปฏิบัติการของฝ่ายการเมืองต่อภารกิจนี้ มีความรีบร้อน และรวบรัด พยายามจะผลักดันกฎหมายให้ผ่านความเห็นชอบของสภาฯ โดยเร็ว ไม่มีกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ รวมถึงไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสังคมอย่างถูกต้องชอบธรรม
“ไม่รู้ว่าเอื้อใคร?”
ในบัญชีแนบท้ายกฎหมายของรัฐบาลฉบับนี้ ได้ลดสเปคกิจการต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบของสถานบันเทิงครบวงจรร่วมกับกาสิโน เช่น โรงแรมไม่ต้อง 5 ดาว ห้างสรรพสินค้าไม่ต้องครบวงจร ศูนย์ประชุมฯไม่ต้องมี มีสระว่ายน้ำ สวนสนุก และร้านขายสินค้าOTOP เท่านั้นก็พอ
เหล่านี้น่าจะเป็นการเอื้อให้ผู้ลงทุนสามารถลดต้นทุนในส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกาสิโนได้
“ไม่รู้เป็นตู้เอทีเอ็มของนายใหญ่ ... ?”
ในกฎหมายฉบับนี้จะมีการตั้ง “สำนักงานกำกับการประกอบสถานบันเทิงครบวงจร” ขึ้นมา ที่น่าสนใจคือ สำนักงานนี้จะมีรายได้มาจากหลายทาง โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และอื่น ๆ ซึ่งเป็นหลักพันล้านในแต่ละปี โดยมีบทบัญญัติว่า “เงินและทรัพย์สินของสำนักงาน เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว เหลือเท่าใดให้สำนักงานนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน”
การเปิดช่องไว้เช่นนี้ อาจทำให้สำนักงานที่ตั้งใหม่นี้กลายเป็นช่องทางให้เกิดการนำเงินที่รัฐควรได้จากกิจการสถานบันเทิงครบวงจร มาใช้จ่ายเพื่อตอบสนองนโยบายของฝ่ายการเมืองได้ คล้าย ๆ กับกรณีของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในสมัยหนึ่ง ที่รายได้จากการจำหน่าย “หวยบนดิน” ที่ไม่ได้นำส่งเข้าแผ่นดิน กลายเป็นตู้เอทีเอ็มให้นายใหญ่กดนำมาใช้ดำเนินงานทางการเมืองได้อย่างสบายมือ
.....................................