เกี่ยวกับเรา
ปี 2551
กลุ่มเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง เครือเด็กและเยาวชน

เข้าพบนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเพื่อคัดค้านการพยายามออกหวยออนไลน์หรือที่เรียกกันว่า “หวยตู้”

ปี 2552
มีความพยายามในการพัฒนาข้อเสนอ

เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากการพนัน โดยมีเครือข่ายครอบครัวร่วมเป็นหัวเรือหลักกับภาดีด้านวิชาการ

ปี 2553
การมาของอีเว้นท์กีฬาระดับโลก อย่างฟุตบอลโลก 2010

ถือเป็นการริเริ่มรณรงค์หยุดพนันในระดับสาธารณะ จากความช่วยเหลือของภาคีด้านเด็กเยาวชนและครอบครัว ภาคีรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ ภายใต้ “เครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน”

ปี 2554
กำเนิด “ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน”

โดย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาคีด้านวิชาการสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อต่อยอดการทำงานเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพนัน ปี 2555 เครือข่ายมีความเข้าใจในประเด็นการพนันที่ซับซ้อนมากขึ้น เกิดภาคีเยาวชนร่วมรณรงค์หยุดพนัน ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน” และเดินหน้ารณรงค์การพนันในกีฬา โดยใช้วาระการแข่งขันฟุตบอล ยูโร 2012

ปี 2556
เกิดจุดจัดการร่วมรณรงค์เพื่อลดผลกระทบจากการพนัน

ภายใต้แนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” คือ ด้านวิชาการ ด้านนโยบาย และด้านเครือข่ายร่วมรณรงค์

ปี 2557
มูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ ภาคีสำคัญด้านนโยบาย

เปิดประเด็นการพนันส่งผลกระทบต่อสมอง กล่าวคือ การเป็นโรคชนิดหนึ่ง หรือ “โรคติดการพนัน” ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมตื่นตัวต่อปัญหาการพนันมากขึ้น ในขณะที่เครือข่ายร่วมรณรงค์หยุดพนันเดินหน้าขับเคลื่อนประเด็น “ปฎิรูปสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสลากเพื่อสังคม” จากการพยายามเพิ่มปริมาณสลากฯในปริมาณที่สูงจนอาจมอมเมาประชาชน รวมทั้งความไม่โปร่งในในการปริหารจัดการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ปี 2558
เดินหน้ารณรงค์การพนันกับในกีฬา ภายใต้แคมเปญ “รักกีฬา เชียร์กีฬา อย่าพนัน”

โดยได้รับความร่วมมือกับบุคคลสำคัญอย่าง มาดามแป้ง ,น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ , และ วอลเล่บอลหญิงทีมชาติไทยชุดใหญ่ และเดินหน้ารณรงค์การพนันบนโลกออนไลน์ภัยร้ายใกล้ตัว

ปี 2559
ก่อตั้ง “มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน”

โดยได้จดทะเบียนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ขึ้นทะเบียนจากกระทรวงมหาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อรณรงค์สร้างกระแสความตื่นตัวทางสังคม ให้ตระหนักถึงโทษภัยของการพนัน ผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคมจากผลกระทบที่เกิดจากการพนัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ติดการพนัน ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวให้ตะหนักถึงโทษภัยของการพนัน รวมไปถึงดำเนินการร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆเพื่อสาธารณประโยชน์ และไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

วิสัยทัศน์


ป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน   ด้วยประชาชนที่ตื่นรู้   มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและเกิดกลไกทางสังคม

พันธกิจ


การสร้างกระแสการตื่นรู้ทางสังคม การปกป้องคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง การพิทักษ์สิทธิของประชาชนในการอยู่ในสังคมและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพหุภาคี ส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มผู้รับผลกระทบจากการพนัน การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ การผลักดันกลไกและมาตรการทางกฎหมาย

ยุทธศาสตร์


1. พลังสังคม พัฒนาเครือข่ายทางสังคมร่วมรณรงค์ส่งเสียงและขับเคลื่อนสังคม

2. พลังปัญญา พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการทำงาน ขยายผลแก่เครือข่ายต่างๆ

3. พลังนโยบาย ผลักดันขับเคลื่อนนโยบายในการควบคุมการพนัน และดูแลสังคม

4. พลังสื่อ สานสร้างพลังการสื่อสารสาธารณะ สร้างกระแสรณรงค์หยุดพนัน

5. พลังองค์กร พัฒนาองค์กรให้มีความถึงพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน


นายจะเด็จ เชาวน์วิไล
ประธานมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน

นางธีรารัตน์ วงศ์ธนะอเนก
กรรมการ

นายชูวิทย์ จันทรส
กรรมการ

นายวันชัย บุญประชา
กรรมการ

นายธนกร คมกฤส
กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน

นางสาวสุจิตรา ฝาสันเทียะ
ผู้จัดการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน

ตราสัญลักษณ์


มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ย่อว่า มรพ. เรียกเป็นภาษาอังกฤษ Stop Gambling Foundation ย่อว่า SGF.
เครื่องหมายของมูลนิธิ คือ รูปดอกบัวบานบนวงกลมสีเทาดำ มีอักษรไทยว่า มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน และภาษาอังกฤษว่า Stop Gambling Foundation